ขนาดอักษร
เปลี่ยนการแสดงผล C C C
TH EN

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

Ministry of Natural Resources and Environment

survey

"ปลัดฯ จตุพร" ชวนทุกภาคส่วนร่วมขับเคลื่อน Circular Economy เพื่อสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพที่ยั่งยืน

"ปลัดฯ จตุพร" ชวนทุกภาคส่วนร่วมขับเคลื่อน Circular Economy เพื่อสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพที่ยั่งยืน

"ปลัดฯ จตุพร" ชวนทุกภาคส่วนร่วมขับเคลื่อน Circular Economy เพื่อสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพที่ยั่งยืน

วันนี้ (14 กันยายน 2566) เวลา 14.00 น. นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ปกท.ทส.) กล่าวแสดงวิสัยทัศน์แนวทางยุทธศาสตร์ชาติและแผนปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายในงาน “ESG Symposium 2023 Pre-session: Circular Economy Acceleration“ โดยมีผู้ประกอบการ และองค์กรต่าง ๆ เข้าร่วมงาน ณ Hall 1 อาคารอเนกประสงค์ ชั้น 10 เอสซีจี สำนักงานใหญ่ กรุงเทพฯ เพื่อร่วมขยายผลและเร่งการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนใน 3 อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ อุตสาหกรรมพลาสติกและบรรจุภัณฑ์ อุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง และอุตสาหกรรมยานยนต์ เพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคพลังงานสะอาดและความยั่งยืน

ปกท.ทส. กล่าวว่า ปัจจุบันนานาประเทศกำลังเผชิญกับพิบัติภัยทางธรรมชาติต่าง ๆ มากมาย ที่ส่งผลกระทบต่อคนทั้งโลก ถือเป็นสิ่งที่กำลังเตือนให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ซึ่ง World Economic Forum ได้จัดทำรายงาน Global Risks Report 2023 โดยความเสี่ยงคุกคามโลกในระยะยาว 10 ปี ได้มีการยกให้ประเด็นปัญหาทางด้าน Climate Change เป็นภัยคุกคามสำคัญทางเศรษฐกิจของโลกในระยะยาว กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีการวางแผนและแนวทางการแก้ไขปัญหาในทุกระยะ ทั้งระยะสั้นและระยะยาว ผ่านแผนการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ อาทิ การจัดตั้งกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม การผลักดัน (ร่าง) พระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. ....  การพัฒนาแนวทางการลดก๊าซเรือนกระจกระดับจังหวัด การพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม BCG model การบริหารจัดการคาร์บอนเครดิต รวมถึงการผลักดันให้เป็นสังคมคาร์บอนต่ำและวิถีชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผ่านความร่วมมือทั้งจากภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายของประเทศไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG emission) ภายในปี ค.ศ. 2065 

แกลเลอรี่